วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สิว ( Acne )

สิว ( ACNES )

สิว ( acne vulgaris ) เป็น โรคผิวหนังที่พบบ่อยของมนุษย์ มีลักษณะของเซโบเรีย (ผิวสีแดงเกล็ด) คอมีโดน (สิวหัวดำและสิวหัวขาว), ปาปูเลส (สิวเสี้ยน), โนดูเลส (สิวขนาดใหญ่), สิวเม็ดเล็ก และอาจทำให้เกิดแผลเป็น นอกเหนือจากการทำให้เกิดแผลเป็น ผลกระทบหลักคือทางด้านจิตใจ เช่นลดความเชื่อมั่นในตนเองลง และในกรณีที่รุนแรงมาก จะทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าหรือการฆ่าตัวตาย  การศึกษาหนึ่งได้ประมาณการอุบัติการณ์ของความคิดฆ่าตัวตายในผู้ป่วยที่เป็นสิวมีอยู่ 7.1%


ในวัยรุ่น สิวมักมีสาเหตุเกิดจากการเพิ่มขึ้นของแอนโดรเจนเช่นฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงวัยแรกรุ่น โดยไม่คำนึงถึงเพศ สิวอักเสบรุนแรงเป็นการติดเชื้อ แต่สิวยังสามารถปรากฏในหลายรูปแบบของการไม่ติดเชื้อการเปลี่ยนแปลงของผิวมีสาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในหน่วยไพโลเซบาเซียส  โครงสร้างผิวประกอบด้วยรูขุมขนและต่อมไขมัน การเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นต้องใช้แอนโดรเจนกระตุ้น

การรักษามีอยู่หลายหลายหนทาง การรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตอย่างน้ำตาลน้อยลงอาจช่วยได้ ยาสำหรับรักษาสิว ได้แก่ เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ ยาปฏิชีวนะ (ทั้งยาทาหรือยาเม็ด),      เรตินอยด์, ยาต้านแอนติเซบอริค, ยาต้านแอนโดรเจน, การปรับฮอร์โมน, กรดซาลิไซลิค, กรดอัลฟาไฮดรอกซี, กรดอะซีลาอิค, นิโคตินอะไมด์ และสบู่ที่มีส่วนผสมของคีราโตไลติค การรักษาในลำดับแรกและเชิงรุก คือ สนับสนุนให้ลดผลกระทบระยะยาวจากการรักษาให้กับคนไข้.





ภาพแสดงระดับความรุนแรงของสิว
1. Mild Acne  ส่วนใหญ่จะเป็นสิวอุดตัน (acne comedonica)
ภาพแสดงระดับความรุนแรงของสิว2. Moderate Acne   สิวจะเริ่มมีอาการบวมแดง และเป็นหัวหนอง (acne papulopustulosa)
ภาพแสดงระดับความรุนแรงของสิว

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สาเหตุของการเกิดสิว

เชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในร่างกายจะมีผลต่อการเกิดสิว นอกจากนั้นยังมีปัจจัยอย่างอื่นที่มีผลต่อการเกิดสิว เช่นกรรมพันธ์ การเสียดสี เช่นการใส่หมวก การสะพายกระเป๋า ขอบยกทรง การล้างหน้าบ่อยๆหรือถูหน้าอย่างรุนแรง เกิดการอุดตันจากการใช้เครื่องสำอาง ครีมบำรุงผม อารมณ์ อาหาร อากาศ ยา เช่น corticosteroids, anabolic steroids, ยากันชัก, lithium, potassium iodide, bromides, และ isoniazid.

การเกิดสิว

ต่อมขุมขนของคนเราประกอบไปด้วยส่วนต่างๆได้แก่
  • ต่อมไขมันหรือ Sebaceous gland
  • รากขนหรือ Follicle
  • ไขมันหรือ Sebum
  • และมีรูเปิดหรือเรียกว่า pore สู่ผิวหนัง
การเกิดสิวเกิดจากต่อมไขมันผลิตไขมันมาก และมีการอุดกลั้นทางเดินของไขมัน ทำให้สิวซึ่งอาจจะเป็นสิวหัวขาว หรือหัวดำก็ได้ หากมีการติดเชื้อแบคทีเรียจะทำให้เกิดการอักเสบของสิว เช่นเป็นหนอง

ต่อมไขมันหรือ Sebaceous gland ผลิตไขมันมากเกินไป

ผิวหนังจะะผลิตน้ำมันเพื่อการหล่อลื่นผิวหนัง หากมีปัจจัยกระตุ้นให้การผลิตน้ำมันในผิวมากเกินไป  อาจกระตุ้นให้เกิดโรคผื่นผิวหนังอักเสบจากไขมัน (Seborrheic Dermatitis) ปัจจัยที่กระตุ้นให้ต่อมไขมันสร้างไขมันได้แก่ ฮอร์โมน สภาพอากาศ ยาบางชนิด พันธุกรรม

มีการหนาตัวของเซลล์ผิวหนัง Hyperkeratosis

คือ การที่ผิวหนังชั้นนอกสุด (Stratum corneum) เมื่อตายและเกิดการสะสมหนาตัวขึ้นผิดปกติ ทำให้เกิดการอุดตันท่อต่อมไขมันและรูขุมขน กลายเป็นสิวอุดตันหัวปิด (สิวหัวขาว) และ สิวหัวเปิด (สิวหัวดำ)

มีการเจริญของเชื้อโรคที่ผิวหนัง 

คือแบคทีเรียที่เจริญเติบโตอยู่บริเวณรูขุมขนที่ชื่อว่า propionibacteria ซึ่งเมื่อเชื้อนี้เข้าไปยังท่อขุมขนที่อุดตันก็จะทำให้เกิดการอักเสบ เกิดการอักเสบ บวมแดง หรือเป็นหัวหนองขึ้นมา

ขบวนการอักเสบ

กระบวนการอักเสบของร่างกายเป็นกระบวนการที่ร่างกายจะจัดการกับสิ่งแปลกปลอม ทำให้เกิดสิวบวมแดงและอักเสบขึ้นหากเป็นรุนแรงก็จะมีการอักเสบลงลึกและเป็นบริเวณกว้าง

ปัจจัยที่ทำให้เกิดสิวได้แก่


  • ฮอร์โมน ร่างกายสร้างฮอร์โมน Testosterone ทำให้มีการสร้างไขมันเพิ่ม โดยมากฮอร์โมนจะเริ่มสร้างเมื่ออายุ 11-14 ปีดังนั้นจึงพบสิวมากในวัยนี้และอาจจะอยู่ได้นานหลายปี
  • การผลิตไขมันมากขึ้นและร่วมกับเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว และเชื้อแบทีเรียทำให้เกิดการอุดตันจนเกิดสิว
  • มีการเปลี่ยนแปลงของรากผม รากผมเจริญเร็วเซลล์มีการแบ่งตัวเร็ว และมีเซลล์ที่ตายมาก จึงเกิดการอุดตันของต่อมไขมัน
  • แบททีเรียโดยเฉพาะชื่อ Propionibacterium acne จะทำให้เกิดการอักเสบของสิว
  • กรรมพันธ์ ผู้ที่มีทั้งพ่อแม่เป็นสิวจะมีโอกาศเป็นสิวสูง
  • การทำงานของต่อมไขมัน หากที่ใดที่มันและร่วมกับการดูแลรักษาความสะอาดไม่ทั่วถึงก็ทำให้เกิดสิว
  • อาหารโดยทั่วไปไม่มีผลต่อการเกิดสิว แต่ก็มีความเชื่อกันว่าการรับประทานอาหารที่มัน หรือหวานจะเกิดสิวได้ง่าย
  • อากาศ ขึ้นกับแต่ละคนบางคนเป็นมากในฤดูหนาว บางคนฤดูร้อน
  • อารมณ์ คนที่อารมณ์ดีจะเกิดสิวน้อยกว่าคนที่อารมณ์เสีย
  • การใช้เครื่องสำอางค์เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเกิดสิว การเลือกสบู่ที่เหมาะกับสภาพผิวหนัง คนที่มีแห้งควรจะใช้สบู่ที่เป็นด่างอ่อน คนที่ผิวมันก็อาจจะใช้สบู่ที่มีความเป็นด่างมากขึ้นได้ หรืออาจจะใช้สบู่ที่มีด่างอ่อนแต่ล้างหน้าบ่อยขึ้น
  • ครีมบำรุงผิวก็ต้องเลือกใหถูกกับผิวหน้า คนที่ผิวแห้งไม่ควรใช้เครื่องสำอางที่มีแอลกอฮอร์เป็นส่วนประกอบ คนที่ผิวมันก็หลีกเลี่ยงเครื่องสำอางที่มีไขมันสูง
  • การระคายผิว เช่นการล้างหน้าที่มีการถูมาก หรือการบีบสิว
  • ยาบางชนิดทำให้เกิดสิวเพิ่มขึ้น เช่น INH Iodides Bromide Steroid Testosterone Gonadotropine Anabolic steroid ยาคุมกำเนิด
ต่อมขุมขน

ตำแหน่งที่เกิดสิว

1
ตำแหน่งที่เกิดสิวได้แก่บริเวณที่ไขมันมากได้แก่ หน้า ไหล่ หลัง อก

ตำแหน่งที่พบบ่อยได้แก่
  • ใบหน้าพบเกือบทุกคนที่เป็นสิว
  • บริเวณหลังพบเกือบครึ่งของคนที่เป็นสิว
  • บริเวณหน้าอกพบได้ประมาณร้อยละ15
Hormones

ฮอร์โมนมีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดสิวในเด็กวัยรุ่น การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนแอนโดรเจนในในช่วงวัยรุ่น ทำให้ต่อมไขมันสร้างน้ำมันมากขึ้นกว่าความต้องการของผิว
นอกจากนี้ ปริมาณฮอร์โมนในระบบไหลเวียนเลือด ยังเป็นปัจจัยให้ต่อมไขมันที่ผิวหนังไวต่อการเกิดสิวอีกด้วย 
ต่อมไขมันมักไวต่อการกระตุ้นโดยฮอร์โมน ดังนั้นสิวในวัยผู้ใหญ่ที่เกิดขึ้นในผู้หญิงมักสัมพันธ์กับฮอร์โมน เช่น โรคถุงน้ำในรังไข่ (polycystic ovary syndrome) เป็นต้น นอกจากนี้ความเครียดอาจจะทำให้เกิดสิวในผู้หญิงวัยผู้ใหญ่อีกด้วย

Bacteria

ในคนที่มีแนวโน้มเป็นสิวง่าย การที่ต่อมไขมันสร้างน้ำมันออกมามากเกินจะทำให้ เกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้แบคทีเรีย (P.acne) เจริญเติบโตได้ดี ซึ่งจะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ บวมแดง และเป็นหัวหนอง

บางคนเชื่อว่าสิวเกิดจากการไม่รักษาความสะอาด หรือไม่ถูกสุขลักษณะ ซึ่งไม่ใช่เรื่องจริง ในทางตรงกันข้าม การทำความสะอาดผิวมากเกินไป หรือ ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีฤทธิ์รุนแรง จะเป็นปัจจัยที่ทำให้ผิวเกิดการระคายเคือง และเกิดสิวได้มากกว่า
สิวอาจทำให้เกิดความเครียด ดังนั้นจึงควรขอคำแนะนำกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังตั้งแต่ระยะแรกของการเกิดสิวโดยปกติแล้วเชื้อที่ก่อให้เกิดสิว (Propionibacterium acnes) ไม่เป็นอันตราย แต่จะสามารถเจริญเติบโดแบ่งตัวได้มากเป็นทวีคูณ เมื่อมีการผลิตน้ำมันมากเกินไป


รูป เชื้อแบคทีเรียก่อสิว


Genes

กรรมพันธุ์มีผลต่อการเกิดสิวด้วยเช่นกัน ถ้าพ่อแม่มีประวัติเป็นสิวในวัยรุ่น ลูกในวัยรุ่นก็มีโอกาสที่จะเป็นสิวด้วยเช่นกัน
ในทำนองเดียวกันถ้าคนใดคนหนึ่งหรือทั้งพ่อและแม่เป็นสิวในวัยผู้ใหญ่ ลูกก็มีโอกาสสูงที่จะเป็นสิวในวัยผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน

Medication 

ยาบางอย่างเช่น สเตียรอยด์และลิเธียม มีรายงานว่าทำให้เกิดสิวได้ในบางคน
มีหลายคนมักกล่าวว่า คนเป็นสิวเกิดจากการที่สกปรก การมีสุขอนามัยที่ไม่ดี หรือการขาดสารอาหาร ซึ่งความเชื่อเหล่านี้เป็นความเชื่อที่ผิด ทำให้คนที่เป็นสิวเกิดความไม่มั่นใจ ไม่เชื่อมั่นในตัวเอง ซึ่งแพทย์ผิวหนังและบุคลากรทางการแพทย์ มีความเชี่ยวชาญเพียงพอที่จะไม่เชื่อตามคำพูดเหล่านั้น


ปัจจัยอื่นๆที่กระตุ้นให้เกิดสิว


ปัจจัยบางอย่างไม่ใช่สาเหตุโดยตรงในการเกิดสิว แต่สามารถกระตุ้นให้อาการของสิวแย่ลงได้ ;

  • อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง (น้ำตาลและแป้ง)
  • การบริโภคนมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัวมากเกินไป (ยกเว้นชีส)
  • การสูบบุหรี่
  • เครื่องสำอางที่ก่อให้เกิดการอุดตันรูขุมขนได้
  • ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ก่อให้เกิดการอุดตัน
  • การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงสามารถทำให้อาการของสิวแย่ลงได้

สิวเกิดขึ้นได้อย่างไร

สิวเกิดขึ้นได้อย่างไร

สิวเกิดขึ้นเมื่อต่อมไขมัน (Sebaceous Gland) ที่อยู่ภายในรูขุมขนผลิตน้ำมัน (Sebum) ออกมาจำนวนมากเกินไป บวกกับเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วภายในรูขุมขนหลุดลอกออกมากผิดปกติ ทำให้เกิดการอุดตันภายในรูขุมขน ซึ่งการอุดตันดังกล่าวจะทำให้น้ำมันที่ยังคงถูกผลิตออกมาอย่างต่อเนื่องไม่สามารถระบายออกไปสู่ผิวหนังด้านบนได้ จึงเกิดการสะสมภายในรูขุมขน และกลายเป็นสิวอุดตัน เมื่อเกิดการอุดตันขึ้นแบคทีเรีย P. acnes ที่อาศัยอยู่ในรูขุมขนจะอาศัยน้ำมันในการเจริญเติบโตทำให้เกิดการอักเสบขึ้นในที่สุด

ดังนั้นสาเหตุหลักๆ ของการเกิดสิวจึงอาจสรุปได้ดังนี้

-ต่อมไขมันภายในรูขุมขนสร้างน้ำมันออกมามากเกินไป ซึ่งเกิดได้จาก
-ความผิดปกติของฮอร์โมน ที่กระตุ้นการสร้างน้ำมันของต่อมไขมัน
-การทำงานผิดปกติของต่อมไขมัน ที่สร้างน้ำมันออกมามากเกินความจำเป็น
-การใช้ยาบางชนิด ที่มีผลในการกระตุ้นการสร้างน้ำมันของต่อมไขมัน
-การอุดตันของรูขุมขน ซึ่งเกิดได้จากสาเหตุดังนี้
-ความผิดปกติของการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังภายในรูขุมขน ทำให้มีเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วจำนวนมากอุดตันภายในรูขุมขน
-การอุดตันของสารเคมีต่างๆ บนชั้นผิวหนังทำให้น้ำมัน และเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วภายในรูขุมขนไม่สามารถระบายออกสู่ด้านบนของผิวหนังได้
-แบคทีเรีย Propionibacterium acnes หรือที่เรียกว่า P. acnes ที่ก่อให้เกิดการอักเสบ
-ปัจจัยอื่นๆ เช่น อาหาร อากาศ การระคายผิว เป็นต้น

ชนิดต่างๆของสิว

สิวหัวปิด หรือ สิวหัวขาว (Whitehead Acne)
สิวหัวปิด หรือ สิวหัวขาว เป็นสิวอุดตันชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นตุ่มนูนเล็กๆ มีสีขาวหรือสีใกล้เคียงกับผิวหนังปกติ

สิวชนิดนี้เกิดจากน้ำมัน (sebum) ที่ถูกผลิตออกจากต่อมไขมัน (sebaceous glands) ภายในรูขุมขน รวมตัวกับเซลล์ผิวหนังภายในรูขุมขนที่ตายแล้ว และหลุดลอกออก ทำให้เกิดการอุดตันบริเวณช่องเปิดของรูขุมขน (pore) ซึ่งเมื่อเกิดการอุดตัน แล้วทำให้น้ำมันที่ถูกสร้างขึ้น รวมทั้งเศษซากเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วไม่สามารถระบายออกสู่ผิวหนังด้านบนได้ จึงเกิดเป็นลักษณะตุ่มเล็กๆ ใต้ผิวหนัง

 สิวหัวเปิด หรือ สิวหัวดำ (Blackhead Acne)                                                                                           สิวหัวเปิด หรือ สิวหัวดำ เป็นสิวอุดตันชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นจุดสีดำๆ ซึ่งบางครั้ง อาจมีการ นูนขึ้นจากผิวหนังเล็กน้อย

สิวประเภทนี้เกิดจากการที่รูขุมขน (pore) มีรูเปิดที่ค่อนข้างกว้างผิดปกติ ทำให้เม็ดสี (melanin) ซึ่ง เป็นส่วนประกอบหนึ่งภายในน้ำมัน (sebum) ที่ผลิตจากต่อมไขมัน (sebaceous glands) ภายในรูขุมขนสัมผัสกับ อากาศ/อ๊อกซิเจน ภายนอกและเกิดปฏิกิริยาทางเคมี (oxidation) เปลี่ยนไขมันเป็นสีดำ

สิวชนิดตุ่มนูนแดง (Papule)
มีลักษณะเป็นตุ่มนูนที่มีสีแดง เนื่องจากเกิดการอักเสบ มักมีอาการเจ็บปวด หรือ แสบควบคู่กันด้วย

สิวชนิดนี้เป็นสิวที่พัฒนามาจากสิวอุดตัน โดยเกิดขึ้นหลังจากที่เมื่อรูขุมขนเริ่มอุดตันแล้ว แต่น้ำมัน (sebum) จากต่อมไขมัน (sebaceous glands) ยังคงถูกผลิตขึ้น อยู่เรื่อยๆ เป็นเหตุให้สิวอุดตันใต้ชั้นผิวหนัง มีขนาดใหญ่ขึ้น จนกระทั่งผนังของรูขุมขนที่อุดตันนั้น แตก/รั่วออก ทำให้น้ำมัน, เศษซากผิวที่ตายแล้ว และเชื้อแบคทีเรีย P. acnes กระจายไปสู่ผิวหนังรอบๆ ร่างกายจึงส่งสัญญาณให้เม็ดเลือดขาวเข้ามากำจัดกับเชื้อแบคทีเรีย และสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้น และทำให้เกิดอาการ อักเสบ บวม แดงขึ้น สิวชนิดนี้ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง สามารถพัฒนาไปสู่ สิวหัวหนอง (Pustule) ได้

สิวหัวหนอง (Pustule)
มีลักษณะเป็นตุ่มหนองสีขาว หรือ สีเหลืองอ่อน ที่นูนขึ้นมาบนผิวหนัง และมีสีแดงอยู่บริเวณรอบๆฐาน

สิวชนิดนี้พัฒนามาจาก สิวชนิดตุ่มนูนแดง (Pupule) ที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที ซึ่งหนองที่เกิดขึ้นนี้เป็นผลมาจากการที่ร่างกายส่งสัญญาณให้เม็ดเลือดขาวเข้ามาจัดการกับเชื้อแบคทีเรีย P. acnes และสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ซึ่งได้แก่น้ำมัน และเศษซากผิวหนังที่ตายแล้วที่แตก และกระจายตัวออกจากรูขุมขนที่อุดตันไปยังผิวหนังบริเวณรอบๆ

สิวอักเสบแดงเป็นก้อน (Nodular Acne)
มีลักษณะเป็นตุ่มสีแดงขนาดใหญ่โผล่ขึ้นมาบนผิวหนังด้านบน และเมื่อสัมผัสจะรู้สึกเจ็บและเป็นไตแข็งๆ

สิวชนิดนี้เกิดจากสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ซึ่งได้แก่น้ำมัน (Sebum) และเศษซากผิวหนังที่ตายแล้ว รวมกับเชื้อแบคทีเรีย P. acnes ที่แตกกระจายออกจากรูขุมขนที่อุดตันไปยังผิวหนังรอบๆ ในบริเวณกว้าง หรืออาจเกิดจากการรวมตัวกันของสิวอักเสบในบริเวณใกล้เคียง ทำให้เกิดการอักเสบเป็นบริเวณกว้างขึ้น ซึ่งโดยมากสิวชนิดนี้จะเจ็บมากและอักเสบเป็นเวลานาน นอกจากนี้เมื่อหายแล้วยังเกิดแผลเป็นตามมาอีกด้วย สิวอักเสบแดงเป็นก้อน ถือเป็นสิวอักเสบขั้นรุนแรง ที่ไม่สามารถรักษาเองได้ด้วยยาที่ขายตามร้านขายยาทั่วไป จึงจำเป็นต้องไปพบแพทย์ เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง

สิวเป็นถุงขนาดใหญ่ใต้ผิวหนัง (Cystic Acne)
ลักษณะภายนอกที่พบเห็นจะคล้ายกับสิวอักเสบแดงเป็นก้อน (Nodular Acne) แต่แตกต่างกันตรงที่สิวชนิดนี้จะมีถุงซีสต์ขนาดใหญ่อยู่ลึกลงไปใต้ชั้นผิวหนัง เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเจ็บมาก

สิวชนิดนี้จัดเป็นสิวอักเสบขั้นรุนแรงที่พบได้ไม่บ่อยนัก ซึ่งเกิดจากการอักเสบของสิวที่อยู่ลึกลงไปใต้ชั้นผิวหนัง และเกิดหนองขึ้นจนกลายเป็นก้อนซีสต์ขนาดใหญ่ (Cystic Acne) นี้ไม่สามารถรักษาเองได้ด้วยยาที่ขายตามร้านขายยาทั่วไป นอกจากนี้ยังไม่ควรพยายามบีบออกด้วยตัวเองเพราะจะทำให้เชื้อลุกลามมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องไปพบแพทย์ เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง นอกจากนี้สิวชนิดนี้มักก่อให้เกิดแผลเป็นเสมอ

ประเภทของสิว

ประเภทของสิว
สิวแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

ประเภทที่1. สิวไม่อักเสบ (non-inflammatory acne) บางตำราเรียก สิวอุดตัน

เป็นประเภทของสิวที่พบได้มากกว่า 70 % ของปัญหาสิว มักพบในวัยรุ่น และวัยหนุ่มสาว โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลำคอ และลำตัว (หลัง) เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่มีต่อมไขมัน (Sebaceous gland) จำนวนมาก สิวชนิดนี้แบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท คือ

1.1. สิวหัวเปิด หรือสิวหัวดำ ( open/black comedones) ลักษณะจะเป็นจุดสีดำ จุดสีดำนี้เกิดจากการที่น้ำมัน (sebum) ทำปฏิกิริยา oxidation กับออกซิเจนในอากาศ


สิวหัวเปิด หรือ สิวหัวดำ แบบที่ 1 แบบมีเม็ดแข็งอุดอยู่ ลูบแล้วสะดุด

ลักษณะ : มีจุดสีดำ คลำแล้วไม่เรียบ เหมือนมีก้อนแข็งๆ เล็กๆ ฝังอยู่ พบได้ประปรายทั่วผิวหน้า อาจพบได้มาก บริเวณ T-zone เช่น จมูก เหนือริมฝีปาก ใต้คางและระหว่างคิ้วบ้างเล็กน้อย ถ้าใช้เครื่องมือหรือนิ้วกดออกมา จะได้ก้อนไขมันแข็ง รูปแท่ง สีเทาอมเหลือง ใสๆ เหมือนเม็ดหญ้าเจ้าชู้ กดออกง่ายในครั้งเดียว ออกแล้วออกเลย ไม่เหลือคอมีโดนตกค้างอีก และรูขุมขนจะค่อยๆเล็กลง ไม่ทิ้งรอยดำ

การรักษา : กดออก















สิวหัวเปิดหรือสิวหัวดำ แบบที่ 2 แบบลูบแล้วเรียบ บางคนเรียกสิวเสี้ยน
ทางการแพทย์ เรียกว่า Trichostasis Spinulosa (TS) และไม่จัดว่าเป็นสิว เป็นแค่ควาามผิดปกติของขนอ่อน 

ลักษณะ : มีจุดสีดำ คลำแล้วเรียบ อาจสากๆเล็กน้อย แต่ไม่ถึงกับรู้สึกว่ามีก้อนแข็งๆอุดอยู่เหมือนแบบที่ 1 พบมากบริเวณจมูก ทำให้จมูกมีจุดๆ เหมือนสตรอวเบอร์รี่ เมื่อกดหรือบีบออกมามักจะได้ เส้นไขมันขาว แต่มักจะไม่ออกมาทั้งหมด จะยังคงเหลือคอมีโดนค้างข้างใน สิวแบบนี้จะไม่หายขาด บางคนเรียกว่า " สิวสตรอว์เบอร์รี่ หรือสิวเสี้ยน " เกิดจากการอัดหรือกระจุกตัวของขนอ่อนจำนวนมากร่วมกับคอมีโดนอยู่ในรูขุมขน ทำให้รูขุมขนขยายกว้างขึ้นและมองเห็นเป็นจุดสีดำ

การรักษา : ใช้สครับกาแฟ ขัดออก ต้องการดูรายละเอียดผลิตภัณฑ์ ไปที่หมวด " พอกขัด ผลัดเซลล์ผิว "

การป้องกัน : ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีฤทธิ์ในการลดการอุดตันของคอมีโดน ได้แก่ เซรั่มละลายสิว หรือ BHA plus Essence หรือ Daily renewal essence ควรเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น โดยเลือกให้เหมาะกับสภาพผิว ต้องการดูรายละเอียดผลิตภัณฑ์โปรดไปที่หมวด " รักษาสิว ควบคุมความมัน " 

ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ ช่วยได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะขนอ่อนในรูขุมขนยังเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา อย่าบีบหรือพยายามกดออก เพราะจะทำให้ผิวช้ำและเป็นมากขึ้น 



1.2. สิวหัวปิดหรือสิวหัวขาว (close/white comedones) 

สิวหัวปิดหรือสิวหัวขาวระดับตื้น

ลักษณะ : เป็นก้อนไขมันอุดอยู่ใต้ผิวหนัง ไม่มีรูเปิด อาจจะมองเห็นหรือไม่เห็นจุดไขมันก็ได้ ขึ้นกับระดับความลึกตื้นของสิว อาจดูเหมือนผด แต่ข้างในผดนั้นคือ คอมีโดนสีขาวขุ่น สิวประเภทนี้พบมากบริเวณคาง ซอกจมูก ใต้ริมฝีปาก โดยเฉพาะใต้ริมฝีปาก หากมองเผินๆ อาจไม่เห็น แต่ถ้าเม้มปากจะชัดขึ้น 

ถ้าใช้มือบีบออกมาก็จะได้ไขมันสีขาวพุ่งออกมา แบบก้อนบ้าง เส้นบ้าง และที่แย่คือ บีบออกมาได้ไม่หมด ยังคงมีไขมันบางส่วนฝังลึกลงไปอีก (รากสิว)

การบีบ กดจะทำให้ผิวช้ำแดง และอาจลุกลามเป็นสิวอักเสบ ขอเรียกสิวแบบนี้ว่า “ สิวอุดตันตื้น” มักเห็นได้ชัดในช่วงบ่ายของวัน เพราะอากาศร้อน ในบางรายเกิดมากในช่วงก่อนมีประจำเดือน ซึ่งผิวผลิตน้ำมันออกมามาก และระบายไม่ทัน หลายคนเรียกสิวประเภทนี้ว่า สิวผด , สิวเสี้ยน

สาเหตุ

1. ใช้เครื่องสำอางที่อุดตันผิว ร่วมกับการทำความสะอาดผิวไม่ดีพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่แต่งหน้าหนา การลงคอนซีลเลอร์ ที่มีฤทธิ์เกาะติดแน่น มักจะพบว่ามีสิวอุดตันตื้นเกิดขึ้นซ้ำๆบริเวณที่แต้มคอนซีลเลอร์
2. ผิวบริเวณดังกล่าวมีรูขุมขนที่เล็กละเอียดโดยธรรมชาติอยู่แล้ว จึงระบายไขมันออกไม่ทัน
3. การแบ่งตัวมากผิดปกติของเคราติน จึงไปอุดตันรูขุมขน (hyperkeratinization)
4.การผลัดเซลล์ผิวตามธรรมชาติเกิดขึ้นช้ากว่าปกติ ทำให้มีเซลล์ผิวที่ตายแล้วค้างอยู่และเกิดการอุดตัน
5.ฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรนที่หลั่งออกมามากในช่วง 14 วัน ก่อนมีรอบเดือน ฮอร์โมนนี้ทำให้มีการคั่งของน้ำในร่างกาย รูขุมขนบวมมากขึ้น การไหลผ่านของไขมันเป็นไปได้ไม่ดี สิวมักเห่อใน 2-3 วันต่อมา 

การรักษาและป้องกัน : ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีฤทธิ์ช่วยในการลดการอุดตันใต้ผิว ปรับสภาพรูขุมขนและการทำงานของต่อมไขมัน เช่น เซรั่มละลายสิว , post acne serum , BHA plus essence , Daily renewal essence ควรเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น โดยเลือกให้เหมาะกับสภาพผิว ต้องการดูรายละเอียดผลิตภัณฑ์โปรดไปที่หมวด " รักษาสิว ควบคุมความมัน " 


สิวหัวปิดหรือสิวหัวขาวระดับลึก

ลักษณะ : มองด้วยตาเปล่าเห็นรอยนูนของหัวสิวชัดเจน และมีก้อนเป็นไตแข็ง ฝังอยู่ ลองบีบกดอาจจะไม่มีไขมันโผล่ออกมาเลย (เพราะหัวสิวไม่เปิด) หรือออกมาได้แต่ไม่หมดเพราะรากสิวยังอยู่ลึก แต่จะได้ผิวที่ช้ำอยู่นานหลายเดือนแทน มีโอกาสลุกลามเป็นสิวอักเสบได้สูง สิวประเภทนี้อาจพบได้ทั้งในคนที่มีรูขุมขนเล็กละเอียด ผิวประเภทนี้จะมีทางเปิดระบายน้ำมันแคบ หรือคนที่ผิวมันรูขุมขนกว้าง ทางออกของน้ำมัน (ซีบั่ม) กว้าง แต่ก็ไม่พอที่จะระบาย

สาเหตุ
1. จากการแต่งหน้าหนา และทำความสะอาดไม่เพียงพอ
2. จากฮอร์โมน (ปัจจัยสำคัญ) ได้แก่ฮอร์โมนแอนโดรเจนทั้งในเพศชาย / หญิง และฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรนก่อนมีรอบเดือนในเพศหญิง

การรักษา : สิวประเภทนี้รักษาค่อนข้างยาก บางครั้งอาจต้องรอหลายเดือนเพื่อให้ผิวค่อยๆ ผลัดตัวเองออกไปเรื่อยๆจนหัวสิวโผล่ออกมา แนะนำให้ใช้ โคลนแต้มสิว (Acne clay) แต้มก่อนนอน เพื่อให้หัวสิวโผล่เร็วขึ้นและกดออก

คำแนะนำ : ห้ามกด บีบสิว ถ้าหัวสิวยังไม่เปิด เพราจะทำให้สิวติดเชื้อและไขมันแตกรั่วออกนอกผนังรูขุมขน เข้าสู่ชั้นหนังแท้ เสี่ยงต่อการเกิดหลุมสิว

ประเภทที่ 2. สิวอักเสบ (inflammatory acne) --- พัฒนาต่อจากสิวประเภทที่ 1

สิวประเภทนี้แยกจากสิวไม่อักเสบได้ง่ายๆคือ เมื่อกดจะรู้สึกเจ็บ จะมีหัวหรือไม่มีหัวโผล่หรือไม่ก็ได้ ถ้ากดแล้วเจ็บๆ จัดเป็นสิวอักเสบ ลักษณะที่มองเห็นได้ คือ มีการบวม แดง อาจมีหัวสิวโผล่หรือไม่ก็ได้ มาทำความเข้าใจเรื่องสิวอักเสบ แล้วคุณจะรู้ว่า สิวอักเสบ อาจไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อเสมอไป

2.1.กระบวนการเอักเสบ การอักเสบเกิดจากการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายในการขจัดสิ่งแปลกปลอม (เชื้อโรค ขนที่หลุดแต่ยังค้างอยู่ในรูขุมขน เศษดิน ไขมันอุดตันที่แตกรั่ว ฯลฯ เหล่านี้ ล้วนจัดเป็นสิ่งแปลกปลอม) โดยการทำงานของเม็ดเลือดขาวฯลฯ ที่ถูกส่งมาตามกระแสเลือด เข้าไปทำลาย กัดกินสิ่งแปลกปลอม เกิดเป็นหนองคั่งอยู่ภายใน สีของหนองซึ่งมีสีขาวอมเหลือง ก็คือสีของซากเม็ดเลือดขาวผสมกับสิ่งสกปรก (cell debris) ในกระบวนการอักเสบจะมีการหลั่งสารสื่อประสาทบางชนิดร่วมด้วย ทำให้เรารู้สึกเจ็บบริเวณสิวอักเสบ

2.2. สาเหตุการเกิดสิวอักเสบ : มีอยู่ 2 สาเหตุหลักๆ การเกิดสิวอักเสบอาจเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งหรือเกิดจากทั้ง 2 สาเหตุร่วมกันก็ได้

สาเหตุที่ 1 อักเสบจากการการแตกรั่วของคอมีโดนออกนอกผนังรูขุมขน 
การบีบสิวอุดตันด้วยวิธีรุนแรง หัวสิวอาจแตกเข้าสู่ผิวข้างเคียงทำให้เกิดการอักเสบ และอาจติดเชื้อ staphylococci, streptococci หรือเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ ร่วมด้วย ดังนั้น ถ้าสิวยังไม่สุก งดการแกะ บีบสิว ดีที่สุดค่ะ 

สาเหตุที่ 2 อักเสบจากการติดเชื้อ โดยเฉพาะเชื้อ P. acne
เชื้อ P. acne เป็นเชื้อประจำถิ่นที่อาศัยอยู่ตามต่อมไขมัน กินไขมันเป็นอาหาร จึงพบได้ในคอมีโดนที่อุดตัน อีกทั้ง P. acne เป็นเชื้อชนิดที่ไม่ต้องการออกซิเจน จึงเจริญเติบโตได้ดีรูขุมขนที่อุดตันซึ่งปราศจากออกซิเจน (anaerobic) ในภาวะที่มีการคั่งของไขมันมากขึ้น เชื้อตัวนี้จะเจริญมากกว่าปกติ และจะสร้างเอนไซม์มาเปลียนไขมันให้เป็นกรดไขมันอิสระ (free fatty acid, FFA) ซึ่งเป็นสารที่ระคายเคืองมาก สิวอักเสบจึงกดเจ็บ การใช้ยาปฏิชีวนะสามารถช่วยลดปริมาณเชื้อตัวนี้ได้และก็ทำให้สิวอักเสบลดลง อย่างไรก็ตามการอักเสบอาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นๆที่อาศัยอยู่บนผิวหนังตามธรรมชาติ (ดูสาเหตุที่ 1) ทำให้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานเพื่อรักษาสิวอักเสบมีหลายขนาน

2.3. การรักษาสิวอักเสบ (สิวที่กดเจ็บ บวม แดง) : หลักสำคัญในการรักษาสิวอักเสบ ก็คือ 1. การเอาหนอง/ไขมัน อุดตันออกให้หมด หากหนองที่คั่งอยู่ภายในไมได้ถูกกำจัดออก กระบวนการอักเสบจะยังเกิดต่อไปเรื่อยๆ 2. การทานยาหรือทายาฆ่าเชื้อร่วมด้วยเพื่อลดจำนวนเชื้อ

การรักษาสิวอักเสบ แบ่งการรักษาตามระยะของสิวอักเสบ ดังนี้

2.3.1 มีหัวหนองแต่ยังไม่สุก
สิวที่มีหัวหนองให้เห็นแล้วแต่สิวยังไม่สุก กระตุ้นให้สิวสุกด้วยการออกกำลังกายให้เกิดความร้อนในร่างกาย สิวจะสุกเร็วขึ้นใน 1-2 วัน หรืออาจพอกด้วย โคลนแต้มสิว พอหัวสิวสุกให้กดเอาหัวสิวออกให้หมด และใช้ เจลสมุนไพรแต้มสิว แต้มแผลสิวอีกครั้ง
หลังจากนั้นอีก 3 วัน แผลสิวจะเริ่มตกสะเก็ดให้แต้มด้วย Onion gel เจลหัวหอมรักษาแผลสิว เพื่อป้องกันรอยแดงและรอยดำหลังตก
ถ้ารอยดำสิวเข้มมาก โดยเฉพาะคนที่บีบสิวซ้ำๆ จะมีรอยดำสิวเข้มกว่าคนที่ไม่บีบสิวให้แต้มด้วย ผงไข่มุก เพื่อลดรอยแดงหรือแต้มด้วย Melanowhite เพื่อลบรอยดำ

2.3.2 เป็นไตเจ็บๆไม่มีหัว
สิวที่ไม่มีหัวหนองให้เห็น มีแต่รอยนูนแดง เป็นไตแข็งๆ กดแล้วเจ็บ เป็นอยู่นาน หัวสิวก็ยังไม่โผล่ ให้ใช้ โคลนแต้มสิว หรือ เจลสมุนไพรแต้มสิว พอกก่อนนอนทุกวัน พอกได้ตลอดเวลา ถ้าไม่ได้ออกจากบ้าน

2.3.3 สิวสุกแล้ว
ให้เจาะหรือกดเอาหนองออก ไม่ต้องตามด้วยผงพิเศษ เพราะการเอาผงยาไปโรยปิดแผล อาจเกิดความชื้นและทำให้แผลหายช้าลง แม้ว่าในผงพิเศษจะมียาฆ่าเชื้อเป็นส่วนผสม แต่ก็ไม่จำเป็น เพราะถ้าเราเจาะเอาหนองออกหมดแล้ว แผลจะหายเองโดยมักไม่ติดเชื้อ เนื่องจากผิวหน้าไม่ใช่ผิวส่วนที่ต้องสัมผัสกับสิ่งสกปรกมากมาย
หลังจากนั้นอีก 3 วัน แผลสิวจะเริ่มตกสะเก็ดให้แต้มด้วย Onion gel เจลหัวหอมรักษาแผลสิว เพื่อป้องกันรอยแดงและรอยดำหลังตก
ถ้ารอยดำสิวเข้มมาก โดยเฉพาะคนที่บีบสิวซ้ำๆ จะมีรอยดำสิวเข้มกว่าคนที่ไม่บีบสิวให้แต้มด้วย ผงไข่มุก เพื่อลดรอยแดงหรือแต้มด้วย Melanowhite เพื่อลบรอยดำ
ในการรักษาสิวอักเสบ จะใช้ยาแก้อักเสบ (ยาฆ่าเชื้อ) ทั้งแบบรับประทานและแบบทาร่วมด้วยก็ได้ ถ้าการอักเสบเกิดจากการติดเชื้อ ก็มักจะได้ผล แต่ถ้าการอักเสบเกิดจากการบีบ แกะและหัวสิวออกไม่หมด ก็มักจะไม่ได้ผล ต้องรอให้หัวสิวโผล่แล้วกดออกอย่างเดียว การทา BHA, BP, sulfur ก็ช่วยได้เพียงทำให้หัวสิวโผล่เร็วขึ้น ดังนั้น ห้ามบีบ แกะสิวอุดตันเด็ดขาดไม่ว่าจะเป็นสิวแบบลึก แบบตื้น เพราะถ้าลุกลามไปเป็นสิวอักเสบเมื่อไหร่ ยาใดก็ยากที่จะช่วยได้